ร้อยไหมเจ็บไหม

นวัตกรรมการร้อยไหมยกกระชับเพื่อแก้ปัญหาใบหน้าหย่อนคล้อยไม่ได้รูป อาจจะถือว่ายังเป็นสิ่งใหม่สำหรับใครหลายๆ คน โดยเฉพาะคนที่ยังไม่เคยร้อยไหมมาก่อนแต่มีความสนใจที่จะร้อยไหม เพื่อแก้ปัญหารูปหน้าในส่วนที่ไม่ค่อยมั่นใจและยังกังวลว่าระหว่างร้อยไหมจะเจ็บไหม วันนี้หมอจะมาไขข้อสงสัยให้ค่ะว่าร้อยไหมเจ็บไหมและมีขั้นตอนอย่างไรและมีวิธีช่วยลดความเจ็บอย่างไรบ้าง

ร้อยไหมแล้วเจ็บไหม ?

สำหรับคำถามที่ว่า ร้อยไหมเจ็บไหมนั้น หมอสามารถตอบได้เลยค่ะว่าระหว่างที่ทำการร้อยไหมไม่มีความเจ็บใดๆ เนื่องจากหมอจะทั้งแปะยาชาและฉีดยาชาแต่ในขั้นตอนนี้อาจจะมีความเจ็บได้ (ขึ้นอยู่กับแล้วแต่บุคคล) และอาจจะมีอาการตึงๆ หน่วงๆ ใต้ผิวหนังได้หลังร้อยเสร็จ เนื่องจากเกิดการรั้งของผิวกับตัวไหมในช่วงสัปดาห์แรกได้ค่ะ

ขั้นตอนในการร้อยไหม

เพื่อให้คนไข้ได้มีความรู้และเข้าใจว่าขั้นตอนของการร้อยไหมมีอะไรบ้างและตอบข้อสงสัยที่ว่าร้อยไหมเจ็บไหม หมอจะอธิบายให้อ่านอย่างละเอียดดังนี้นะคะ

  1. ประเมินใบหน้าก่อนทำ หมอจะประเมินใบหน้าของคนไข้ก่อน เพื่อดูว่าเหมาะกับไหมประเภทไหนและต้องใช้ไหมจำนวนกี่เส้น ในขั้นตอนนี้หากคนไข้มีการดูข้อมูลมาแล้วเบื้องต้นหรือต้องการแก้ไขในจุดไหนมากเป็นพิเศษก็สามารถแจ้งหมอได้ เพื่อให้การร้อยไหมปรับรูปหน้าของคนไข้เห็นผลได้ดี ตรงจุด และตรงกับความต้องการของคนไข้มากที่สุดค่ะ
  2. แปะยาชา หมอจะใช้ยาชาแบบทาประมาณ 30 นาที โดยยาชาจะออกฤทธิ์เฉพาะจุดบริเวณผิวชั้นนอกซึ่งช่วยลดความเจ็บปวดขณะฉีดยาชาและร้อยไหมได้ค่ะ
  3. ฉีดยาชา หลังจากแปะยาชาแล้ว จะมีการประคบน้ำแข็งเพื่อทำการฉีดยาชาอีกครั้ง เพื่อช่วยลดความเจ็บปวดขณะร้อยไหมในชั้นผิวหนัง ตามแนวไหมที่จะทำการร้อย
  4. เช็ดหน้าด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เพื่อทำความสะอาดผิวและฆ่าเชื้อเตรียมพร้อมใบหน้าก่อนทำการร้อยไหม ขั้นตอนนี้ก็มีความสำคัญมากค่ะ เพราะหากทำความสะอาดไม่ดีอาจเกิดการติดเชื้อจากการสอดเข็มเข้าใต้ผิวหนังได้
  5. ร้อยไหม ในขั้นตอนของการร้อยไหม แพทย์จะสอดเส้นไหมเข้าไปในเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง เพื่อให้เกิดกลไกในการยกกระชับผิว โดยคนไข้จะไม่รู้สึกเจ็บเนื่องจากฤทธิ์ของยาชา แต่อาจจะมีความรู้สึกตึงๆ บริเวณผิวหนังที่โดนร้อยได้ค่ะ
  6. กดไหม จัดตำแหน่งไหม เมื่อวางแนวไหมครบแล้ว หมอจะทำการดึงปรับไหมให้ผิวยกกระชับขึ้น และคลายริ้วไหมในบางตำแหน่ง ซึ่งก็เป็นอีกขั้นตอนที่สำคัญมากของการร้อยไหม เนื่องจากต้องใช้เทคนิคเฉพาะทางการแพทย์เพื่อกำหนดตำแหน่งของผิวที่ต้องการให้ยกกระชับ
  7. ตัดไหม จะเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการร้อยไหม เนื่องจากในการร้อยไหมบางชนิดจะต้องมีการผูกปม ซึ่งเมื่อตัดไหมออก จะไม่เห็นเส้นไหมและปมไหม

วิธีเตรียมตัวก่อนร้อยไหม

ก่อนมาร้อยไหม ควรมีการเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ ดังนี้ค่ะ

  1. งดทานอาหารเสริม 3-7 วันก่อนมาร้อยไหม
  2. งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 1 วันก่อนมาร้อยไหม
  3. สระผมก่อนที่จะมาร้อยไหม
  4. หากมีนัดทำฟัน แนะนำให้ทำฟันก่อนมาร้อยไหมค่ะ
  5. แจ้งแพทย์เรื่องประวัติการแพ้ยาและยาที่ทานประจำ(ถ้ามี)

วิธีลดอาการเจ็บปวดหลังร้อยไหม

หลังร้อยไหมเสร็จแล้ว คนไข้จะมีความบวมและช้ำได้ปกติในช่วง 3-7 วันแรก แต่ในบางรายอาจจะมีอาการระบมและเจ็บปวดร่วมด้วย ดังนั้นหมอจึงขอแนะนำวิธีในการลดอาการบวมและอาการปวดที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนี้ค่ะ

  1. ประคบเย็น การประคบเย็นสำคัญมากๆ ซึ่งควรจะประคบอย่างต่อเนื่องในช่วง 1-3 วันแรก ยิ่งบ่อยได้มากเท่าไหร่จะยิ่งดี เนื่องจากการประคบเย็นสามารถช่วยลดทั้งอาการบวม เจ็บปวดและอาการระบมใต้ผิวได้ค่ะ
  2. ทานยา หากคนไข้มีอาการปวด สามารถทานยาแก้ปวดและยาแก้อักเสบได้ค่ะ
  3. ดื่มน้ำใบบัวบก น้ำมะพร้าวสด หรือน้ำฟักทองสด หากคนไข้ไม่อยากทานยา อยากหายบวมและลดความปวดด้วยวิธีธรรมชาติ น้ำทั้ง 3 อย่างนี้ก็สามารถช่วยได้เช่นกันค่ะ
  • น้ำใบบัวบก ช่วยแก้อาการช้ำใน ลดอาการอักเสบ
  • น้ำมะพร้าวสด ในน้ำมะพร้าวมีแคลเซียม กรดอะมิโน วิตามินบี และธาตุเหล็ก ซึ่งสามารถช่วยให้อาการบวมลดลง ทั้งยังป้องกันแผลอักเสบได้ค่ะ
  • น้ำฟักทองสด ช่วยลดอาการบวมฟกช้ำและแผลอักเสบ

สำหรับใครที่กังวลเกี่ยวกับอาการบวมหลังร้อยไหมสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ ร้อยไหมบวมกี่วัน

สรุป

สำหรับสิ่งที่หลายคนกังวลว่าร้อยไหมเจ็บไหมนั้น หมอขอสรุปว่าระหว่างการร้อยไหมแทบไม่มีความเจ็บใดๆ เลยค่ะเนื่องจากก่อนทำการร้อยไหมจะมีทั้งการแปะยาชาและฉีดยาชาทำให้ลดความเจ็บได้ แต่หลังจากที่ร้อยไหมเสร็จแล้วอาจจะมีอาการบวม ฟกช้ำได้ตามปกติ หรือในบางรายจะมีอาการเจ็บปวด ระบมใต้ชั้นผิวจากการร้อยไหมบ้าง ก็สามารถทำตามคำแนะนำที่หมอเขียนไว้ด้านบนได้เลยค่ะ

และสิ่งที่สำคัญมากๆ เลยคือการเตรียมตัวก่อนมาร้อยไหมให้ดีและหลังจากที่ร้อยไหมไปแล้วมีการดูแลอย่างถูกต้องตามวิธีที่หมอแนะนำ เพื่อให้ผลลัพธ์ของการร้อยไหมอยู่ไปได้นานๆ และลดความเจ็บปวดหลังร้อยที่อาจเกิดขึ้นได้ค่ะ

คุณหมอเฟรนด์

พญ. ศิรดา จันทนาสุภาภรณ์
Dr. Sirada Chanthanasupaporn

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของเว็บไซต์ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายคุกกี้ของเรา อ่านเพิ่มเติม

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า